ชุดประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน

ชุดประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน

ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม

baju-kurung-baju-melayu-brunei

          ชุดของผู้ชาย เรียกว่า Baju Melayu แต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง ผู้ชายมุสลิมแต่งกายเป็นทางการทั้งในสถานที่ราชการและที่สาธารณะ ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า Baju Kurung คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ผู้หญิงมุสลิมจะสวมผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะและในสถานที่ราชการ

 

ชุดประจำชาติของประเทศกัมพูชา

1028653_orig

          ซัมปอต (Sampot) เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชา สำหรับผู้หญิงซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย มีหลากหลายรูปแบบ ส่วนผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขน ยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว

 ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย

jahitan jadi21

          เคบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย สำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก สำหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาว และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด

 ชุดประจำชาติของประเทศลาว

loas

          ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่นที่ทอเป็นลวดลาย และใส่เสื้อคอกลมแขนยาวหรือแขนทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล ถ้าเป็นข้าราชการหรือผู้มีฐานะดีนิยมนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย 

 ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย

malay01-horz 

          ชุดของผู้ชาย เรียกว่า Baju Melayu (บาจู มลายู) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาว และกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ชุดของผู้หญิงเรียกว่าBaju Kurung (บาจูกุรุง) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวและกระโปรงยาว

ชุดประจำชาติของประเทศเมียนมาร์

longyi01 

          ลองยี (Longyi) คือชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่า หรือเมียนมาร์ โดยมีการออกแบบในรูปทรงกระบอก มีความยาวจากเอวจรดปลายเท้า การสวมใส่ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึงหัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่

 ชุดประจำชาติของประเทศสิงคโปร์

singapore01-horz

          สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้

 ชุดประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์

barongtagalog

          ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก (balintawak)

 ชุดประจำชาติของประเทศไทย

phraratchatan1-horz

          สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” สำหรับผู้ชาย จะเรียกว่า “เสื้อพระราชทาน” สำหรับผู้หญิง จะเป็น “ชุดไทยจักรี” ที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน

 ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม

aodai 

          อ่าวหญ่าย (Ao dai) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วย ชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงานหรือพิธีศพ

 

สรุปการประชุมรัฐมนตรีวัฒธรรมอาเซียน

AMCA

  ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ(ASEAN Ministers Responsible for Culture and the Arts – AMCA) ครั้งที่ 5 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24-25 พ.ค. 2555 มีการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมอาเซียนแล้ว พร้อมรัฐมนตรีวัฒนธรรมประเทศคู่เจรจา +3 (AMCA+3) (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) และการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมอาเซียนและจีน (AMCA+China)

          โดย นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นผู้แทนจากประเทศไทยเข้าร่วมประชุม กล่าวว่าในที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนได้เห็นชอบกับการส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนในด้านวัฒนธรรมและศิลปะ โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปกป้องและส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมอาเซียน ส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านวัฒนธรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ อีกทั้งมีเยาวชนเข้าร่วมประชุมเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชนในงานวัฒนธรรมโดยผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสังคมสมัยใหม่ ได้แก่ เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์ รวมทั้งงานอาสาสมัครทางวัฒนธรรม, วิสาหกิจทางวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนระดับประชาชน และกิจกรรมเชื่อมโยงอื่นๆ

          ในส่วนของประเทศไทย ได้กล่าวสนับสนุนบทบาทของวัฒนธรรมในการสร้างอาเซียนให้เป็นสังคมแห่งความเอื้ออาทรและการแบ่งปัน นอกจากอาเซียนได้เน้นเยาวชนเป็นเป้าหมายหลักแล้ว ควรให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดและส่งผ่านคุณค่าทางวัฒนธรรมสู่คนรุ่นเยาว์ด้วย ทั้งนี้ ครอบครัวเป็นหน่วยเล็กๆ ในสังคมที่จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันความสำเร็จของการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้นการสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมคุณค่าของครอบครัวจะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมเช่นกัน

จุดแข็ง จุดอ่อน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ประเทศในอาเซียน

ประเทศไทยพร้อมเข้าสู่ AEC แล้วหรือยังเมื่อวิเคราะห์โดยใช้จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ได้ดังนี้

จุดแข็ง (Strengths)

– ไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรม ด้านยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สามารถต่อยอดด้านการลงทุนหรือวิจัยได้ 

– สถาบันการเงินของไทยมีความมั่นคง นักลงทุนสามารถระดมทุนจากสถาบันการเงินของไทยได้อย่างมั่นใจ และรัฐบาลมีแนวโน้มในการเปิดเสรีภาคการเงินอีกด้วย 

– ไทยตั้งอยู่ตรงกลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้ได้เปรียบในเรื่องศูนย์กลางต่างๆ เช่น การคมนาคมทางบก, ทางอากาศ, การค้า, การลงทุน หรือแม้กระทั่งศูนย์แสดงสินค้า 

– ไทยมีจุดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวที่ดี ราคาไม่แพง และคนไทยเป็นมิตร ทำให้ส่งเสริมกันกับเรื่องของศูนย์กลางการคมนาคม ทางบกและทางอากาศ 

– ไทยมีความสามารถด้านการแพทย์ที่ดีและราคาถือว่าไม่แพง เมื่อเทียบกับ AEC ประเทศอื่น เช่น สิงคโปร์

 จุดอ่อน (Weaknesses)

– ไทยมีปัญหาเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่มีความแน่นอน มีปัญหาด้านความคิดทางการเมืองภายในประเทศ และยังมีปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยชายแดนใต้ 

– ไทยยังมีปัญหาเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่รุนแรงและไม่จริงจัง โดยเฉพาะเรื่อง เพลง ภาพยนตร์ และ Software ต่างๆ

– ปัญหาการจราจรในเมืองหลวง (กรุงเทพฯ) ที่ติดขัดและตามจังหวัดใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่ 

– ประชาชนชาวไทยยังด้อยความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลางในการสื่อสารเมื่อASEAN เริ่มดำเนินการ

 โอกาส (Opportunities)

– ไทยมีนโยบายการสนับสนุนการลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะการลงทุนที่นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี การสร้างนวัตกรรม  การพัฒนาทักษะบุคลากร 

– ไทยเปิดเสรีทางการค้าอย่างเปิดกว้างไม่มีการปิดกั้น 

– การลงทุนที่ได้รับการสนับสนุนจาก BOI ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องการถือหุ้นของต่างชาติ ไม่กำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศ และไม่จำกัดปริมาณการส่งออก และยังมีสิทธิพิเศษอื่นๆ ที่ปรับสอดคล้องกับ WTO

 อุปสรรค (Threats)

– BOI สนับสนุนอุตสาหกรรมหลักของไทยหลายสาขา คือ การเกษตร พลังงานทางเลือก ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ICT แฟชั่น บันเทิง สุขภาพ การท่องเที่ยว

– ภาคบริการบางสาขาของไทย เช่น การแพทย์มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และได้มาตรฐานในราคาไม่แพง สามารถต่อยอดได้

เพลงประจำอาเซียน

เพลงประจำอาเซียน 

“The ASEAN Way”

เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เนื้อร้อง

Raise our flag high, sky high

Embrace the pride in our heart

ASEAN we are bonded as one

Look-in out-ward to the world.

For peace, our goal from the very start

And prosperity to last.

WE dare to dream we care to share.

Together for ASEAN

We dare to dream,

We care to share for it’s the way of ASEAN.

 เนื้อร้อง ภาษาไทย

พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว

สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ

วันที่เรามาพบกัน

อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา

เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น

หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว

อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์

ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน

เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล

“ภาษาบอกรัก” ในอาเซียน

 เนื่องในวันแห่งความรัก (14 ก.พ.) หรือวันวาเลนไทน์ เกร็ดความรู้อาเซียน ขอเสนอ “ภาษาบอกรัก” ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน และยังสามารถใช้บอกกับทุกคนที่คุณรักได้อีกด้วย  

♥ ภาษาไทย                 – ฉันรักเธอ 

♥ ภาษาลาว                 – ข้อยฮักเจ้า

♥ ภาษาพม่า                – จิต พา เด (chit pa de)

♥ ภาษาเวียดนาม          – ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em)

♥ ภาษาเขมร               – บอง สรัน โอง (Bon sro Ianh oon)

 ภาษามาเลย์              – ซายา จินตามู (Saya cintamu)

 ภาษาอินโดนีเซีย        – ซายา จินตา ปาดามู (Saya cinta padamu)

 ภาษาตากาล็อก          – มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta)

 ภาษาจีนกลาง           – หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni)

 ภาษาญี่ปุ่น               – ไอ ชิเตรุ (Ai shiteru)

♥ ภาษาเกาหลี             – ซารัง แฮโย (Sarang Heyo)

heart

มรดกโลกในอาเซียน

มรดกโลกในอาเซียน (1)

   “อ่าวฮาลอง” (Halong Bay)

อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long) หรือ ฮาลอง เบย์ (Halong Bay) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อในภาษาเวียดนาม หมายถึง “อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง”

      อ่าวฮาลองมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะ โผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร มีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น

      อ่าวฮาลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537

มรดกโลกในอาเซียน (2)

 อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู (Gunung Mulu National Park)

gunung_mulu_national_park-karst_topography-image gunung-mulu-national-park-borneo-gohoto

      อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung Mulu National Park) เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในบนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ติดกับชายแดนของประเทศบรูไน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายในด้านชีววิทยาและธรณีวิทยาเป็นอย่างมาก มีพันธุ์พืชกว่า 3,500 ชนิด และมีพันธุ์ปาล์มกว่า 109 ชนิด ในด้านธรณีวิทยาเป็นภูมิประเทศแบบ Karst หรือภูมิประเทศแบบหินปูน มีพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ หน้าผาสูงชัน ยอดแหลม มักพบรอยแตกกว้างซึ่งกลายเป็นถ้ำในแนวดิ่งหรือแนวเฉียง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นโพรงยาว ปากถ้ำแคบ ภายในถ้ำกว้าง ผนังและเพดานถูกปกคลุมด้วยหินงอกหินย้อย และเกิดถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในอุทยานแห่งนี้ คือ“ถ้ำซาราวัค แซมเบอร์ (Sarawak chamber) ซึ่งมีความยาว 700 เมตร กว้าง 396 เมตรและสูง 80 เมตร คำนวณพื้นที่แล้วสามารถบรรจุเครื่องบิน Boeing 747 จำนวนหลายลำได้เลยทีเดียว อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2543

มรดกโลกในอาเซียน (3)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง

(Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries)

Thungyai-Huai_Kha_Khaeng

     เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2534 ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ 3 แห่ง ได้แก่  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 6,222 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,888,875 ไร่  อยู่ภายในเขตจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย ซึ่งผู้มีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งแห่งนี้ คือ คุณสืบ นาคะเสถียร

มีอาณาเขตทอดยาวอยู่บนแนวเทือกเขาถนนธงชัยเชื่อมต่อกับตอนเหนือของเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นธารของแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ ถึง ๔ เขต รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ (77% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 50% ของนก และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์) โดยที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบนิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

มรดกโลกในอาเซียน (4)

นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์

(Rice Terraces of the Philipine Cordilleras)

Rice_Terraces

      นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ที่เกาะลูซอนตอนเหนือของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์  โดยชาวพื้นเมืองอิฟูเกา (Ifugao) ที่สร้างนาขั้นบันไดแห่งนี้มากว่า 2,000 ปีแล้ว ด้วยเครื่องมือที่เรียบง่ายและแรงงานคน ซึ่งลูกหลานชาวนาสืบเชื้อสายมาจากชาว Ifugao ในปัจจุบันก็ยังคงยึดอาชีพทำนาเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของพวกเขา โดยความรู้นี้ได้ถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และ การแสดงออกของประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ และความสมดุลของสังคมที่ละเอียดอ่อน ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ความงามของภูมิทัศน์ ซึ่งแสดงถึงความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

 

      จุดเด่นของที่นี่ คือเป็นสุดยอดทั้งในเรื่อง “ความสูง” เนื่องจากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง1,500 เมตร และ “ความเอียงของพื้นที่” จุดที่ลาดชันมากที่สุดเอียงถึง 70 องศา และครอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีระบบการทำเขื่อนกั้นน้ำและการระบายน้ำที่ซับซ้อน โดยใช้เพียงท่อที่ทำจากไม้ไผ่เป็นตัวกั้นน้ำให้ผืนนาขั้นบันไดทั้งหมดมีน้ำท่วมขังเพียงพอสำหรับการทำนาข้าวอันน่าทึ่งนี้ได้ตลอดมา

 

     นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2538

มรดกโลกในอาเซียน (5)

กลุ่มวัดบรมพุทโธ (Borobuder Temple Compounds)

borobudur_byyak01

     มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก

     บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ  ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้น บนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป

     บุโรพุทโธ ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2534

ภาษาและศาสนาประจำชาติอาเซียน 10 ประเทศ

  • ประเทศไทย (Thailand)

 
ธงชาติ    ตราแผ่นดิน

 

ภาษา : ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ 
ศาสนา : ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1

 

  • บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)


ธงชาติ        ตราแผ่นดิน

ภาษา : ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน 
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%) ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%) และฮินดู

  • กัมพูชา (Cambodia)

 

 
ธงชาติ            ตราแผ่นดิน

ภาษา : ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย 
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์

อินโดนีเซีย (Indonesia)


ธงชาติ       ตราแผ่นดิน

ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia 
ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ 4

  • ลาว (Laos)


ธงชาติ           ตราแผ่นดิน

ภาษา : ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ 
ศาสนา : ร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 16-17 นับถือผี ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ (ประมาณ 100,000 คน) และอิสลาม (ประมาณ 300 คน)

  • มาเลเซีย (Malaysia)


ธงชาติ       ตราแผ่นดิน

ภาษา : มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ 
ศาสนา : อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6) ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)

  • พม่า (Myanmar)


ธงชาติ

ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 
ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05

  • ฟิลิปปินส์ (Philippines)

  
ธงชาติ       ตราแผ่นดิน

ภาษา : มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโน (Filipino) และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก 
ศาสนา : ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ มุสลิมร้อยละ 5 พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 3

  • สิงคโปร์ (Singapore)


ธงชาติ            ตราแผ่นดิน

ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ) จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน 
ศาสนา : พุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4% ไม่นับถือศาสนา 25%

  • เวียดนาม (Vietnam)

ธงชาติ          ตราแผ่นดิน

ภาษา : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) เป็นภาษาราชการ ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม 
ศาสนา : ส่วนใหญ่ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อ มุสลิม

ธงอาเซียน 10 ประเทศ

สำหรับหลักและวิธีการประดับธงอาเซียน และธงชาติของประะเทศสมาชิกอาเซียนให้ เรียงโดยเริ่มจากธงอาเซียนแล้วต่อด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ตามลำดับอักษรชื่อประเทศดังนี้

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          1. Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม)

          ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมีพื้นสีเหลือง โดยมีแถบสีขาว และสีดำ พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ด้านบน แถบสีดำอยู่ด้านล่าง ขณะที่กลางธงนั้น มีตราแผ่นดินของบรูไนประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ 

           สีเหลือง หมายถึง กษัตริย์

           สีขาว และสีดำ หมายถึง มุขมนตรี

          สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง 

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          2. Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา)

          ธงชาติกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วตรงกลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่บริเวณกึ่งกลาง ขณะที่ริ้วด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีน้ำเงิน และกว้างริ้วละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยสีต่าง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

           สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์

           สีแดง หมายถึง ชาติ

           ส่วนปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

 
          3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)

ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

           สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ

           สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          4. Lao People’s Democratic Republic (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว – สปป ลาว)

ธงชาติลาว ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็น 3 ส่วน โดยแถบตรงกลางจะเป็นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน มีพระจันทร์ทรงกลมสีขาวอยู่กึ่งกลาง ขณะที่แถบด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีแดง และกว้างริ้วละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

           สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว

           สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ

           พระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของ

          สาเหตุที่มีดวงจันทร์ทรงกลมอยู่ตรงกลาง เนื่องจากเพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          5. Malaysia (มาเลเซีย)

ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

           แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซีย

           ดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด

           พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ

           สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ

           สีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          6. Republic of the Union of Myanmar (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า)

ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

           สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า

           สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี

           สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด

           ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          7. Republic of the Philippines (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์)

ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จำนวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่งตามความยาว โดยแถบบนมีสีน้ำเงิน และแถบล่างมีสีแดง

          ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีน้ำเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

           สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม

           สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคุณค่า

           ดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ ที่มีความพยายาม ในการเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน กระทั่งเกิดการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2439

           ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ  ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน


8. Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์)

ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีดาว 5 แฉก  จำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉก ต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

           สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า

           สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล

           รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น

           ดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน


9. Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย)

ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว และสีแดงตามลำดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

           สีแดง หมายถึง ชาติ

           สีขาว หมายถึง ศาสนา

           สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์

          อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ “เครื่องหมายแห่งไตรรงค์” ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า

           สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ

           สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ

           สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์

          แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอด

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน


10. Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)

          ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

           สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม

           สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม

          อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า

           สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ

           ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

ดอกไม้ประจําชาติอาเซียน 10 ประเทศ

         เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น การรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ ก็จะเริ่มต้นขึ้นแล้ว (พ.ศ.2558) เพื่อผนึกกำลังในการพัฒนาแต่ละประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีประเทศไทยกับเขาด้วย วันนี้ กระปุกดอทคอม จึงมีข้อมูลเบา ๆ เกี่ยวกับดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติอาเซียนในแต่ละประเทศมาฝากกันเพื่อเพิ่มเติมความรู้ ว่าแต่จะมีดอกไม้อะไรบ้าง อย่ารอช้ารีบไปดูกันเลย..
 
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 1. บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) : ดอกซิมปอร์
 
          ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย
 
 
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 2. ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) : ดอกลำดวน
 
          กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ ด้วยนะ
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) : ดอกกล้วยไม้ราตรี
 
          ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic of Lao PDR) : ดอกจำปาลาว
          ดอกไม้ประจำชาติประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย
 
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) : ดอกพู่ระหง
 
          สำหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย
 
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) : ดอกพุดแก้ว
 
          ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วยเช่นกัน
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 7. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore) : ดอกกล้วยไม้แวนด้า
 
          ประเทศสิงคโปร์ มี ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)
 
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 8. ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) : ดอกราชพฤกษ์
 
          ดอกไม้ประจำชาติไทยของเรา ก็คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น
 
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) : ดอกบัว
 
          ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็ญสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อยครั้ง
10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 10. สหภาพพม่า (Union of Myanmar) : ดอกประดู่
 
          ดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ

ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของประชาคมอาเซียน

1. ประเทศสมาชิกอาเซียน มีสภาพภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกัน จึงมีสินค้าเกษตรหรือแร่ธาตุที่คล้ายคลึงกัน บางครั้งจึงมีการแย่งตลาดกันเอง และสินค้าส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ยังไม่ได้แปรรูป ทำให้ราคาสินค้าตกต่ำ นโยบายเขตการค้าเสรีในภูมิภาคนี้จึงดำเนินไปอย่างช้ามากจะแก้ไขปัญหานี้ได้จะต้องมีการแบ่งการผลิตตามความถนัดของแต่ละประเทศแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันจึงจะเกิดการรวมกลุ่มกันได้ แต่ถ้าต่างคนต่างผลิตโดยไม่มีการกำหนดมาตราฐานร่วมกันในการวางแผนการผลิตก็ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในการรวมกลุ่ม

2. สินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มอาเซียนนั้นก็เป็นอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน แต่ละประเทศต่างก็มุ่งจะพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วตามแบบอย่างตะวันตก จึงต้องมีการจัดซื้อเทคโนโลยีชั้นสูง ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่พอจะผลิตสินค้าเทคโนโลยีได้ก็คือสิงคโปร์ แต่ประเทศสมาชิกก็เกี่ยงว่ายังไม่มีคุณภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศอุตสาหกรรมนอกกลุ่มอาเซียน ทำให้การค้าขายระหว่างกันในกลุ่มอาเซียนทำได้ยาก วิธีการแก้ไขจะต้องมีการแบ่งงานกันทำและยอมรับสินค้าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน รวมทั้งจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียนให้ดีขึ้น

3. ประเทศในอาเซียนพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า แต่ละประเทศพยายามส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศตน โดยการใช้กำแพงภาษีหรือกำหนดโควต้า ซึ่งสวนทางกับหลักการในการรวมกลุ่มและตลาดการค้าเสรี ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกมารวมกลุ่มกันต้องยกเลิกข้อเลือกปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศเพื่อก่อให้เกิดการค้าเสรี (Free Trade) ดังนั้นข้อตกลงใน AFTA ของอาเซียนหลายข้อจึงยังไม่ได้รับการปฏิบัติ

4. ประเทศสมาชิกยังคงปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของตนเป็นหลัก และการหารายได้เข้าของรัฐประเทศในอาเซียนมีลักษณะเหมือนกัน คือรายได้หลักของประเทศมาจากการเก็บภาษีศุลกากรสินค้าขาเข้าและขาออก ซึ่งการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนให้ยกเลิกการเก็บภาษีระหว่างกันหรือเก็บภาษีให้น้อยลง แต่ประเทศสมาชิกไม่สามารถสละรายได้ในส่วนนี้ได้ เนื่องจากเป็นเงินที่ต้องนำมาพัฒนาประเทศ การรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างประเทศในภาคีจึงยังทำได้ยาก

5. ความแตกต่างกันทางการเมืองและการปกครอง กฎบัตรอาเซียนได้กำหนดไว้ชัดเจนถึงหลักการประชาธิปไตยและให้ประเทศสมาชิกยึดมั่นต่อรัฐบาลที่มาจากวิถีทางรัฐธรรมนูญ การสร้างประชาคมความมั่นคงอาเซียนก็จะช่วยยกระดับความร่วมมือในการส่งเสริมประชาธิปไตยของแต่ละประเทศอันมีผลต่อความสงบเรียบร้อยทางการเมืองในภูมิภาคด้วย แต่การปกครองของประเทศสมาชิกอาเซียนมีหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วย

5.1 แบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มี 4 ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ และ มาเลเซีย

5.2 ประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

5.3 เผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 2 ประเทศ คือ ลาวและเวียดนาม

5.4 เผด็จการทหาร 1 ประเทศ คือ เมียนมาร์ หรือพม่า

5.5 สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 1 ประเทศ คือ บรูไน

สมาชิกในกลุ่มอาเซียนมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด สมาชิกบางประเทศยังมีปัญหาด้านความเป็นประชาธิปไตย และยังปกครองในรูปแบบเผด็จการและต้องการรักษาอำนาจของตนไว้ ทำให้อาเซียนพัฒนาได้อย่างยากลำบาก

6. ความขัดแย้งระหว่างประเทศอาเซียน ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนยังมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศอยู่ เช่น ปัญหาพรมแดนระหว่างประเทศไทย – กัมพูชา ปัญหาพรมแดนระหว่าง มาเลเซีย – ฟิลิปปินส์ – อินโดนีเซีย

7. ความแตกต่างด้านสังคมและวัฒนธรรม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา โดยสามารถแบ่งกลุ่มประเทศตามศาสนาที่ประชากรส่วนใหญ่ ของประเทศนับถือได้ ดังนี้

– ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คือ บูรไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

– ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คือ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม สิงคโปร์ และประเทศไทย

– ส่วนในฟิลิปปินส์ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์

นอกเหนือจากความแตกต่างทางศาสนาแล้ว ปัญหาชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่าย่อมจะมีความแตกต่างทางความเชื่อ วิถีชีวิต ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ก็เป็น อุปสรรคต่อการหลอมรวมสร้างความเป็นหนึ่งเดียว